วันอาทิตย์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2554

หลักการออกแบบวีดิทัลด้วยสื่อวีดิทัศน์เพื่อการนำเสนอ


ส่ง สวัสดีปีใหม่




หนังสั้น คือ เรื่องที่นำเสนอทั้งภาพและเสียง ในเวลา 5-10 นาที โดยสะทั้อนเรื่งราวสาระที่เกิดขึ้นและจบอย่างรวดเร็ว

1.ขั้นเตรียมการผลิต
 -สำรวจความต้องการและวิเคราะห์ปัญหา
-วิเคราะห์เนื้อหาและกำหนดเรื่อง
-เขียนบทวีดิทัศน์
-วางแผนการถ่ายทำ

2.ขั้นการผลิต
คือ การถ่ายทำวีดิทัศน์ เป็นการบันทึกภาพวีดิทัศน์ตามบทวีดิทัศน์ที่ได้เขียนไว้

3.ขั้นหลังการผลิต
คือ การตัดต่อลำดับภาพ เป็นขั้นสุดท้ายของการผลิต และต้องมีความละเอียดรอบคอบ ทั้งด้านภาพและเสียง ต้องมีความเหมาะสม สวยงาม มีความน่าสนใจ เพราะต้องนำไปเผยแพร่

4.ขั้นการประเมินผล
คือการประเมินผลสื่อ เมื่อนำไปใช้กับกลุ่มเป้าหมาย และนำข้อมูลต่างๆมาปรับปรุงแก้ไข ก่อนนำไปเผยแพร่

5.ขั้นเผยแพร่
ควรมีรูปแบบที่หลากหลาย เพื่อให้ถึงเป้าหมายได้มากที่สุด

จิตวิทยาสีของการออกแบบและการนำเสนอ

สีกับการออกแบบนำเสนอ

สีเป็นภาพรวมของสื่อการนำเสนอที่ดีมาก หากเลือกใช้สีไม่เหมาะสม เช่น ตัวอักษรเหลืองบนพื้นขาว หรือตัวอักษรน้ำเงินบนพื้นดำ ก็คงสร้างความไม่ประทับใจ ให้ผู้ชมสักเท่าไหร่ ดังนั้นควรเลือกใช้สีที่ตัดกันระหว่างสีตัวษรกับวัตถุ สีพื้นหลัง เช่น กรณีเลือกใช้พื้นสไลด์สีขาว สีตัวอักษรควรจะเป็นสีดำ สีน้ำเงินเข้ม แดงเลือดหมู กรณีเลือกใช้พื้นสไลด์สีเข้ม เช่น สีน้ำเงินเข้ม ตัวอักษรควรใช้ สีขาว สีฟ้าอ่อน แต่อย่างไรก็ตามควรหลีกเลี่ยงการใช้สีโทนร้อน เช่น สีแดงสด เหลืองสด เขียวสด






1.การใช้สีกลมกลืนกัน
เป็นการใช้สีที่ใกล้เคียงกันหรือคล้ายคลึงกัน  การใช้สีแบบเอกรงค์เป็นการใช้สี สีเดียวที่มีน้ำหนักอ่อนแก่หลายลำดับการใช้สีข้างเคียงเป็นการใช้สีที่เคียงกัน 2-3 สี ในวงสี สีแดง สีส้มแดง และสีม่วงแดง การใช้สีใกล้เคียงเป็นการใช้สีที่อยู่เรียงกันในวงสีไม่เกิน5สี ตลอดจนการใช้สีวรรณะร้อนและวรรณะเย็น





2.การใช้สีตัดกัน
สีตัดกันคือสีที่อยู่ตรงข้ามกันในวงสี การใช้สีตัดกันมีความจำเป็นมากในการออกแบบ เพราะช่วยทำให้เกิดความน่าสนใจ สีตัดกันอย่างแท้จริงมีอยู่ด้วยกัน 6 คู่สีคือ
- สีเหลือง ตรงข้าม สีม่วง
- สีส้ม ตรงข้าม สีน้ำเงิน
- สีแดง ตรงข้าม สีเขียว
- สีเหลืองส้ม ตรงข้าม สีม่วงน้ำเงิน
- สีส้มแดง ตรงข้าม สีน้ำเงินเขียว
- สีม่วงแดง ตรงข้าม สีเหลืองเขียว

สีมีผลต่อการออกแบบคือ
1.สร้างความรู้สึก  สีสามารถบำบัดรักษาโรคจิตบางชนิดได้ และมีผลต่อการสัมผัสและสร้างบรรยากาศได้
2.สร้างความสนใจ ช่วยสร้างความประทับใจ และความน่าสนใจในงานศิลปะ
3.สีบอกสัญลักษณ์ของวัตถุ สีแดงคือ ไฟหรืออันตราย สีเขียวคือ พืชและความปลอดภัย
4.สีช่วยให้เกิดการรับรู้ จดจำ ในงานศิลปะการใช้สีจะต้องสะดุดตาและเป็นเอกภาพ



หลักการออกแบบและการนำเสนอด้วยPower Point


การนำเสนองานด้วย Power Point มีบทบาทมากขึ้นในปัจจุบัน เพราะ มีความสะดวก และสามารถแก้ไขได้ง่าย

1.ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับโปรแกรม Power Point
โปรแกรมไมโครซอฟต์ Power Point ผลิตโดย บริษัทไมโครซอฟต์ ประเทศ สหรัฐอเมริกา ใช้ได้กับเครื่องคอมพิวเตอร์พีซีทั่วไป คุณสมบัติโดดเด่น สามารถเชื่อมโยงผ่านระบบเครือข่ายได้ สามารถโอนไฟล์ข้อมูลจากโปรแกรมไมโครซอฟต์อื่นๆ มาร่วมใช้งานได้ สร้างภาพเคลื่อนไหวและเสียงประกอบได้

2.การเปิดโปรแกรม
-คลิ๊กที่ Start/Programs/Microsoft PowerPoint
-จะได้ไดอะล็อกบล็อกเริ่มต้นให้คลิ๊กที่คำสั่ง งานนำเสนอเปล่า จะได้ไดอะล็อกบล็อกการสร้างภาพนิ่ง คลิ๊กที่แบบสไลด์ที่ต้องการ แล้วคลิ๊กตกลง จะได้สไลด์ว่างๆขึ้นมา1แผ่น

3.ส่วนประกอบ Power Point


 


4.การสร้างสไลด์
-คลิ๊กที่กรอบ คลิ๊กเพื่อเพิ่มชื่อเรื่อง
-คลิ๊กเลือกตัวหนังสือและขนาดตัวหนังสือ
-พิมพ์ข้อความ
-คลิ๊กที่กรอบข้อความ พิมพ์เพื่อเพิ่มชื่อเรื่องย่อย

5. การแก้ไขออปเจ็กต์
การย้ายออปเจ็กต์ ให้คลิ๊กที่ออปเจ็กต์ค้างไว้ แล้วลากเมาส์ไปยังตำแหน่งที่ต้องการ การใส่สีเส้นสีพื้น ให้คลิ๊กที่ออปเจ๊กที่ต้องการและคลิ๊กคำสั่ง รูปแบบสีและเส้น เลือกสีและเส้น ตัวอักษรได้เลย


6.การเปลี่ยนสีพื้นและเทคนิคการปรับแต่งสไลด์
ให้คลิ๊กที่สไลด์ที่ต้องการปรับแต่งสีพื้น และคลิ๊กที่เมนู รูปแบบ พื้นหลัง จะได้ไดอะล็อกบล็อกพื้นหลัง ถ้าต้องการสีอื่นๆ ให้คลิ๊กที่สีเพิ่มเติม และเลือกสีที่ต้องการ

7.การใส่ภาพประกอบสไลด์เป็นพื้น
-คลิ๊กที่เมนู รูปแบบ พื้นหลัง แล้วคลิ๊กเลือกคำสั่ง เติมลักษณะพิเศษ
-คลิ๊กที่แท็บรูปภาพ คลิ๊กที่ปุ่มเลือกรูปภาพ
-เลือกภาพแล้วคลิ๊กแทรกตกลงนำไปใช้

8.การทำสไลด์โชว์

การแสดงสไลด์โดยนำเสนอผ่านทางจอภาพหรือทางโปรเจคเตอร์ มีวิธีการดังนี้
-คลิ๊กนำเสนอภาพนิ่ง > ชมการนำเสนอ
  จะได้สไลด์แผ่นแรก กดEnter สไลด์แผ่นที่2ก็จะตามมา
-การใช้ทรานซิซั่น ให้ใช้การนำเสนอภาพนิ่งแล้วเลือกคำสั่ง การเปลี่ยนภาพนิ่ง การปรับเสียง คลิ๊กที่ปุ่มเสียง
-การพิมพ์สไลด์ออกทางเครื่องพิมพ์ ให้คลิ๊ก คำสั่งแป้นพิมพ์ เลือกเหมือนการพิมพ์เอกสารทั่วไป




การสื่อสารและทฤษฎีการสื่อสาร

      “การสื่อสาร” จึงมีความหมายที่กว้างขวางและลื่นไหล จึงเป็นการยากที่จะกำหนดคำนิยามถึง “การสื่อสาร” โดยให้เป็นที่ยอมรับของบุคคลทั่วไป อย่างไรก็ตามหนึ่งในนิยามเชิงปฏิบัติการ ที่นักวิชาการการสื่อสารใช้กันมากคือ การสื่อสารคือการส่งข้อมูลจากบุคคลหนึ่งไปยังบุคคลหนึ่ง ซึ่งเป็นนิยามที่ทำให้มองเห็นภาพง่ายๆของการสื่อสารได้


องค์ประกอบของการสื่อสาร


การสื่อสารต้องประกอบด้วยผู้ส่งสาร และผู้รับสาร แต่ก็ต้องมีองค์ประกอบอื่นนอนเหนือจากนี้ นั่นคือ ตัวกลาง ที่จะเข้ามาช่วยอธิบายให้กระบวนการสื่อสารมีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น  การสื่อสารมีองค์ประกอบ 5อย่าง

1.ผู้ส่งสาร หรือผู้รับสาร หรือแหล่งสาร
2.เนื้อหา เช่น ข่าสารความรู้ ความคิดเห็น บทเพลง ภาพ
3.สื่อหรือช่องทางในการนำสาร เช่น วิทยุ โทรทัศน์ อินเตอร์เน็ต
4.ผู้รับสารหรือกลุ่มเป้าหมาย อาจเป็นกลุ่มชน หรือสถาบันก็ได้
5.ปฏิกิริยาสนองกลับ อาจจะยอมรับ หรือปฏิเสธ พอใจ ไม่พอใจ เป็นต้น
   
  อุปสรรคการสื่อสาร

1.คำพูด
2.ฝันกลางวัน
3.ข้ออ้างถึงที่ขัดแย้ง
4.การรับรู้ที่จำกัด
5.สภาพแวดล้อมทางกายภาพไม่เอื้ออำนวย
6.การไม่ยอมรับ